แบบทดสอบจิตวิทยากับการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์

แบบทดสอบจิตวิทยากับการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์
แบบทดสอบจิตวิทยากับการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์
ก่อนอื่น ขอให้ผู้อ่านลองทดสอบแบบทดสอบ ทดสอบว่าคุณเป็นคนสไตล์ไหนใน DISC
ทฤษฎีการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ 4 รูปแบบ หรือ DISC เป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากทฤษฎีการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ตามแนวคิดของ “คาร์ล กุสตาฟ จุง” (Carl Gustav Jung) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านพฤติกรรมเป็นคนแรก ๆ
นักจิตวิทยาสังคมชาวฟินแลนด์ชื่อ ดร. วิลเลียม มาร์สตัน เริ่มเขียนเกี่ยวกับ DISC ในปี 1924 โดยได้แบ่งรูปแบบพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 4 รูปแบบตามวิธีการคิด ได้แก่

  • D (Dominant)
  • I (Influential)
  • S (Steady)
  • C (Conscientious)

การจัดกลุ่มแบบนี้ ใช้เพียงพารามิเตอร์สองมิติคือ ใช้การคิดหรือใช้ความรู้สึกเป็นแกนตั้ง และ
ใช้สัญชาตญาณหรือข้อมูลเป็นแกนนอน
D – Style (Dominance) = เสือ
คนประเภทนี้เป็นคนที่กล้าตัดสินใจ เน้นผลลัพธ์ มุ่งมั่น ทำอะไรรวดเร็ว พูดจาเสียงดัง ไม่ประนีประนอม กล้าเสี่ยง ชอบการแข่งขัน ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่ค่อยฟังผู้อื่น ตรงไปตรงมา บางทีอาจดูขวานผ่าซากไปบ้าง มีข้อเรียกร้องสูง ดื้อดึง มั่นใจในตัวเอง
คนประเภทนี้เป็นคนที่กล้าตัดสินใจ เน้นผลลัพธ์ มุ่งมั่น ทำอะไรรวดเร็ว พูดจาเสียงดัง ไม่ประนีประนอม กล้าเสี่ยง ชอบการแข่งขัน ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่ค่อยฟังผู้อื่น ตรงไปตรงมา บางทีอาจดูขวานผ่าซากไปบ้าง มีข้อเรียกร้องสูง ดื้อดึง มั่นใจในตัวเอง
สิ่งที่คนสไตล์ D ชอบ : การทำงานอย่างอิสระ เมื่อมอบหมายงานให้แล้ว ต้องให้อำนาจตัดสินใจเขาไปด้วย เพราะเขาเป็นคนที่มุ่งผลลัพธ์ (Result Oriented) สูง ชอบงานที่ท้าทายความก้าวหน้าในหน้าที่/ตำแหน่ง ชอบเสี่ยง กล้าตัดสินใจ เขาชอบงานหรือกิจกรรมที่จะต้องการคนเข้าไปลุยแก้ปัญหาหรือจัดการให้เสร็จในภารกิจเฉพาะที่ต้องการให้เห็นผลเร็ว หรือมีการแข่งขันสูง และมีเป้าหมายหรือตัวชี้วัดผลสำเร็จที่ชัดเจน
สิ่งที่คนสไตล์ D ไม่ชอบ : การที่ถูกควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด เพราะเขาจะรู้สึกว่าไม่ได้รับความไว้วางใจ การตัดสินใจที่ชักช้า (เพราะเขาเป็นคนใจร้อน) การมีขั้นตอนที่มากหรือมีงานจุกจิกหยุมหยิม หรือการมอบหมายงานให้ไปแล้ว แต่ไม่ให้อำนาจตัดสินใจ จะทำให้เขาอึดอัด ตลอดจนการเข้าไปแทรกแซงสิ่งที่เขาได้ตัดสินใจสั่งการ จะทำให้เขารู้สึกหงุดหงิดและอึดอัดมากขึ้น
คำแนะนำ : สิ่งที่คุณจะสามารถทำได้เพื่อให้สื่อสารกับผู้อื่นได้ดีขึ้นคือ คุณจะต้องเน้นที่อารมณ์และความรู้สึกให้มากขึ้น เพราะโดยปกติคุณจะให้ความสำคัญกับงาน หรือผลลัพธ์มากกว่าเรื่องอารมณ์และความรู้สึก นอกจากนี้ คุณยังควรที่จะพูดให้น้อยลงแล้วฟังให้มากขึ้น ระมัดระวังที่จะไม่เป็นผู้นำในการสนทนา พร้อมเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยแบบสั้นๆ ระวังในเรื่องของการแสดงความดื้อรั้น ไม่สุภาพ และคุณต้องมีความอดทนมากกว่านี้
อาชีพที่เหมาะสม : นักธุรกิจ นักการตลาด นายธนาคาร ผู้บริหาร นายหน้าซื้อขาย ผู้จัดการ นักการเมือง ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา ที่ปรึกษาทางธุรกิจ พิธีกร โฆษก นักกีฬา นักหนังสือพิมพ์ ผู้นำทหาร
I – Style (Influence) = นกยูง
คนประเภทนี้เป็นคนช่างพูด ชอบเข้าสังคม ดูเป็นมิตร เปิดเผย จูงใจคนเก่ง ชอบขายไอเดีย เป็นคนร่าเริง มีอารมณ์อ่อนไหว มักหลีกเลี่ยงรายละเอียด เวลาคุยกันมักพูดออกนอกประเด็นไปเรื่อย ไม่ค่อยรักษากฎ ไม่ชอบคนน่าเบื่อและเข้มงวด
สิ่งที่คนสไตล์ I ชอบ : คนสไตล์ I จะชอบงานที่ต้องพบปะติดต่อผู้คน งานสมาคม งานสังสรรค์ เจ๊าะแจ๊ะ การเข้าไปให้กำลังใจกับผู้คน การเข้าร่วมประสานงานระดมความคิด งานแปลก ๆ ใหม่ ๆ งานที่ต้องทำกันเป็นกลุ่มเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา ตลอดจนงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ
สิ่งที่คนสไตล์ I ไม่ชอบ : งานที่เป็นงานประจำโดยเฉพาะงานที่ไม่ค่อยได้พบปะกับผู้คน เพราะเขาจะรู้สึกว่ามันจำเจ น่าเบื่อหน่าย หรือมีกฎระเบียบมาก ๆ หรืองานที่ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้คน งานที่ต้องเข้าไปแก้ปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งหรือต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งของผู้คน (เพราะเขาไม่ชอบทำอะไรที่ขัดใจคนอื่นนัก)
คำแนะนำ : คุณควรจะพูดให้น้อยลง ฟังให้มากขึ้น เน้นที่รายละเอียดของข้อเท็จจริงให้มากขึ้น พูดแบบตรงไปตรงมามากขึ้น และพยายามอยู่ในประเด็น นำเสนอให้ช้าลง ควรเว้นระยะห่างความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นบ้างเพราะบางคนอาจไม่ชอบก็ได้ แล้วก็ต้องไม่ใช้อารมณ์มากเกินไป เน้นเหตุผลให้มากขึ้น
อาชีพที่เหมาะสม : นักจิตวิทยา พระ นักสังคมสงเคราะห์ ผู้ให้คำปรึกษา นักเขียน ศิลปิน พยาบาล ครูแนะแนว มัคคุเทศก์ ล่าม พนักงานต้อนรับ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ นักสังคมวิทยา
S – Style (Steadiness) = โลมา
คนประเภทนี้เป็นคนใจเย็น สงบ เสมอต้นเสมอปลาย ทำอะไรเป็นระบบ ละเอียดรอบคอบ ถ่อมตัว ประนีประนอม ชอบเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด จะพูดเมื่อถูกถาม มักแสดงความเห็นด้วยกับผู้อื่นตลอดเวลา ต้องการคำแนะนำจากผู้อื่น ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
สิ่งที่คนสไตล์ S ชอบ : คนสไตล์ S จะชอบงานที่เป็นขั้นเป็นตอนชัดเจน ไม่ต้องเร่งรีบนักเพราะเขาไม่ชอบเสี่ยงเรียกว่าทำช้า ๆ แต่ชัวร์ เขาจะเป็นผู้ร่วมทีมงานที่ดี ไม่ละเมิดกฎเกณฑ์ของกลุ่ม เป็นผู้รับฟังที่ดีด้วยท่าทีที่นุ่มนวล ด้วยบรรยากาศมิตรภาพ ให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพที่ดีซึ่งกันและกัน จึงไม่ชอบทำอะไรที่จะทำให้คนมองว่าเขาเป็นคนไม่ดี ชอบอยู่อย่างสงบไม่รุกรานใคร ชอบที่จะให้มีเวลาในการทำงานหรือมีเวลาในการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ชอบทำอะไรที่ไม่เสี่ยงและมีหลักเกณฑ์หรือมีขั้นตอนที่ชัดเจน
สิ่งที่คนสไตล์ S ไม่ชอบ : เขาจะไม่ชอบบรรยากาศของความขัดแย้ง การบีบบังคับให้ตัดสินใจแบบทันทีทันใด เพราะเขาจะรู้สึกว่าทำไมไม่คิดให้ดีให้รอบคอบเสียก่อน ไม่ชอบการลัดขั้นตอน หรือการมีกฎเกณฑ์ที่คลุมเครือจะทำให้เขาตัดสินใจไม่ถูก ในขณะเดียวกันเขาก็ไม่ชอบความขัดแย้งในทีมงาน การไม่ยอมรับฟังซึ่งกันและกัน เมื่อเขาพูด (กรณีที่เขาเป็นหัวหน้างาน) คนอื่นก็ต้องฟัง เพราะเขาไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง (แม้ว่าปากอาจจะบอกว่าชอบการเปลี่ยนแปลงก็ตาม)
คำแนะนำ : คุณควรที่จะแสดงออกและสื่อสารให้ดูมีชีวิตชีวาและพูดให้มากขึ้นเพราะปกติคุณอาจจะดูเนือยๆ เงียบๆ ไม่ค่อยพูดค่อยจา นอกจากนี้คุณควรนำเสนอให้รวดเร็วยิ่งขึ้นอย่ามัวแต่รอให้ถูกถาม เน้นรายละเอียดให้น้อยลง ควบคุมอารมณ์ให้ได้
อาชีพที่เหมาะสม : ครู บรรณารักษ์ นักบัญชี เลขานุการ บรรณารักษ์ ผู้ช่วยบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่การเงินการธนาคาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่พิมพ์ดีด เจ้าหน้าที่งานพัสดุ
C – Style (Compliance) = นกฮูก
คนประเภทนี้เป็นคนที่ชอบความสมบูรณ์แบบ ยึดติดกับรายละเอียด มีเหตุผล มีหลักการ เน้นความชัดเจนถูกต้อง ให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริง เป็นคนละเอียดถี่ถ้วน มีระเบียบ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ไม่ชอบเสี่ยง ทำอะไรอย่างระมัดระวัง
สิ่งที่คนสไตล์ C ชอบ : คนสไตล์ C ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความถูกต้องของข้อมูลที่เชื่อถือและพิสูจน์ได้ เขาเป็นคนที่ชอบข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว ชอบข้อมูลเอกสารแนบเยอะ ๆ รับรองว่าเขาจะอ่านทุกหน้าทุกบรรทัด ผิดตรงไหนจะหาที่ผิดมาให้ดูจนได้ เขาจึงเป็นคนที่มีมาตรฐานในการทำงานสูง หรือที่เรียกกันว่าเป็นพวกต้องการความครบถ้วนสมบูรณ์สูงมาก (perfectionism) หากเขาพบว่ามีใครที่ให้ข้อมูลที่ไม่จริงหรือไม่ถูกต้องแล้วล่ะก็ เขาจะจำไว้นานเลย
สิ่งที่คนสไตล์ C ไม่ชอบ : ความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีข้อมูลรายละเอียดรองรับ เพราะจะทำให้เขาตัดสินใจไม่ถูก เนื่องจากเป็น สไตล์ที่รับฟังหรือค้นหาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน (หรือพยานวัตถุ) มากกว่าพยานบุคคล ดังนั้นเขาจะอึดอัดใจหากไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ ในขณะเดียวกันหากมีใครวิจารณ์ตัวเขาหรือผลงานของเขาว่าไม่ดีควรปรับปรุงแล้วล่ะก็ เขาจะหงุดหงิดมากขึ้น อีกประการหนึ่งคือเขาไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบที่จะต้องเป็นจุดเด่นในที่สาธารณะ
คำแนะนำ : คุณควรแสดงออกและพูดให้มากขึ้น พูดถึงรายละเอียด ข้อเท็จจริงและตัวเลขให้น้อยลง พูดถึงเรื่องบุคคลและอารมณ์ให้มาก เน้นที่การกระตุ้นจูงใจให้มากขึ้น ระมัดระวังไม่แสดงความเย็นชา ไม่สุภาพ และห่างเหินจนเกินไป
อาชีพที่เหมาะสม : นักบัญชี นักธุรกิจ ผู้บริหาร เลขานุการ นักกฎหมาย นิติกร ผู้พิพากษา นักสืบ แพทย์ ทันตแพทย์ งานเกี่ยวกับการแพทย์ โปรแกรมเมอร์ ครู ผู้พิพากษา นักเศรษฐศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์