วิธีบูชาพระประจำวันเกิด

วิธีบูชาพระประจำวันเกิด
การบูชาพระพุทธรูปประจำวันเกิด จะมีทั้งหมด 7 ปาง ตามวันในสัปดาห์ คือ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และเสาร์ และเพิ่มปางวันพุธกลางคืน ที่เรียกว่าวันราหูเข้าไปด้วย  รายละเอียดการบูชาพระประจำวันเกิด มีดังนี้

วิธีบูชาพระอาทิตย์


ผู้บูชาพระอาทิตย์ จะได้รับพรด้านความเจริญก้าวหน้า มีเกียรติ์ในสังคม มีชื่อเสียงในวิชาชีพของตน
ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ ได้รับความเคารพศรัทธาจากผู้อื่น

พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ คือ ปางถวายเนตร


ประวัติย่อพระพุทธรูปปางถวายเนตร
ในสัปดาห์ที่ 2 ภายหลังจากการตรัสรู้พระองคค์ได้เสด็จไปด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระ ศรีมหาโพธิ์ แล้วประทับยืนจ้องพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม้กระพริบพระเนตร ด้วยพระอิริยาบถนั้นตลอด 7 วัน และสถานที่ประทับยืนทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นเรียกว่า อนิมิสสเจดีย์ (อนิมิสส แปลว่า ไม่กระพริบตา)ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางถวายเนตรขึ้นเป็น อนุสติ และนิยมสร้างไว้เป็นที่สักการะบูชาประจำวัน สำหรับคนเกิดวันอาทิตย์
คาถาบูชาพระอาทิตย์
ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้ คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป 3 ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันอาทิตย์ ให้ใช้ธูป 6 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์)
บทสวดบูชาพระอาทิตย์
อิติปิโส ภะคะวา พระอาทิตย์จะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางถวายเนตร พระประจำวันอาทิตย์
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณ โณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะ ธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละ ยันตุ นะมัตถุ พึทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะ โม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมังโส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา

วิธีบูชาพระจันทร์ 


ผู้บูชาพระจันทร์ จะได้รับความมีเสน่ห์ จินตนาการกว้างไกล ได้รับความเมตตาปราณีจากคนรอบข้าง
การติดต่อประสานงานเจรจาธุรกิจใดๆก็เป็นไปอย่างราบรื่น มีแต่ผู้คนรักใคร่

พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันจันทร์คือ ปางห้ามสมุทร


ประวัติย่อพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร
ในพรรษาที่ 4 หลังออกพรรษาแล้ว พรพุทธองค์ได้เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์เพราะทรงทราบข่าวที่พระเจ้าสุทโธทนะ ประชวรหนัก ทรงแสดงะรรมโปรดจนพระพุทธบิดาบรรลุเป็นพระอรหันต์และได้นิพพานด้วยการประชวน นั้น หลังจากถวายพระเพลิงพระศพ พระพุทธบิดาแล้วยังคงประทับอยู่ที่นิโครธาราม ในสมัยนั้น พวกเจ้าศากยะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระพุทธบิดา แล้วทรงโกลิยะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระพุทธมารดา ที่ตั้งหลักแหลงอยู่ริมฝั่งทั้งสองของแม่น้ำโรหิณี ได้เกิดทะเลาะวิวาทลุกลามมากขึ้น มี การด่าว่ากระทบถึงชาติ โคตร และลามถึงราชวงค์ ในที่สุดกษัตรย์ทั้งสองพระนครก็ได้ยกทัพออกมาประชิดกัน จนวนจะเกิดศึกพระหัตประหารกัน แต่พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องเสียก่อนจึงเสด็จไปยังที่กองทัพทั้งสองทั้งสอง นครตั้งกำลังประชิดกัน แล้วตรัสถามถึงมูลเรื่องเสียก่อนจึงเสด็จไปยังที่กองทัพทั้งสองนครตั้งกำลัง ประชิดกันและตรัสถามถึงมูลเหตุของการทะเลาะวิวาทเมื่อพระญาติเหล่านั้นกราบ ทูลบอกจึงตรัสชี้แจงถึงเหตุที่ไม่สมควรซึ่งชีวิตกษัตริย์อันหาค่ามิได้จะ ต้องพากันมาล้มตายเพียงเพราะเหตุแห่งน้ำอันมีค่าเพียงนิดหน่อยจากนั้นจึง ตรัสผันทน ชาดก ทุทุภายชาดก และลฏุกิกชาดก เพื่อระงับการทะเลาะวิวาท แล้วตรัสรุกธรรมชาติให้เกิดความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ในที่สุดตรัสอัตตทัณฑสูตร เพื่อกำจัดกิเลสในอดีตกีดกันกิเลสไม่เกิดความสามัคคีพร้อมเพียงกัน ในที่สุดตรัสอัตตทักณสูตร เพื่อกำจัดกิเลสในอดีส กีดกันกิเลสไม่ให้เกิดในอนาคตและมีสติมั่นคงในปัจจุบันพระญาติวงศ์ทั้งสอง พระนครต่างพากันทิ้งอาวุธ นมัสการและกล่าวสรรเสริญคุณพระพุทธองค์ว่า ถ้าพระองค์ไม์เสด็จมา ก็คงต้องฆ่าฟันกันจน เลือดไหลหนองเป็นแน่ครั้งพระญาติทั้งสองฝ่ายทำความเข้าใจกันดีแล้วพระ พุทธองค์จึงเสด็จกลับด้วยพระพุทธจริยาในการบำเพ็ญญาตัตถจริยาดังกล่าวในภาย หลังพุทธศาสนิกชนจึงได้สร้างพระพุทธรูปปางห้ามญาติขึ้น และเป็นปางพระพุทธรูปบูชาสำหรับคนที่เกิดวันจันทร์
คาถาบูชาพระจันทร์
ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้ คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป 3 หรือ 2 ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันจันทร์ ให้ใช้ธูป 15 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์)
บทสวดบูชาพระจันทร์
อิติปิโส ภะคะวา พระจันทร์จะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร พระประจำวันจันทร์
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย
จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย
จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย
จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

วิธีบูชาพระอังคาร


ผู้บูชาพระอังคาร จะได้รับพรให้มีความกล้าหาญชาญชัย เหตุการณ์หรือการกระทำกิจกรรมใดๆ หากไม่มีกำลังใจในการตัดสินใจ
ให้บูชาพระอังคาร จะได้รับความฮึกเหิม ตลอดจนความขยันขันแข็ง มีพลังแห่งความมุ่งมั่น คือพรที่ได้รับจากพระอังคาร

พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอังคารคือ ปางไสยาสน์ และ ปางลีลา


ประวัติย่อพระพุทธรูปปางไสยาสน์
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ในพระนครสาวัตถีอสุรินทราหูบุชาของท้าวเวปจิตติอสูร ผู้ครองอสูรพิภพ ได้สดับพระเกียรติคุณของพระพุทธองค์จากสำนักเทพยดาทั้งหลาย จึงมีความปรารถนาจะไปเฝ้า แต่คิดว่าพระพุทธองค์เป็นมนุษย์ มีพระวรกายเล็กถ้าเข้าไปเฝ้าก็คงต้องก้มลงมอง ซึ่งจะทำให้ตนเองลำบากทั้งไม่เคยคิดจะก้มหัวให้ใครอีกด้วย ดั้งนั้นจึงไม่ยอมเข้าไปเฝ้าพระศาสดา แต่เมื่อเห็นเหล่าทวยเทพจำนวนมากไปเฝ้าพระพุทธองค์เนื่อง ๆ จึงไม่อาจทนอยู่ได้ ในราตรีวันหนึ่งจึงตัดสินใจเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์
ฝ่ายพระพุทธเจ้าทรงทราบว่าอสุรินทราหูจะมาเฝ้า จึงมีรับสั่งให้พระอานนท์ ปูลาดบรรจถรณ์แล้วก็สำเร็จสีหไสยาสน์รออสุรินทราหูบนพระแท่นที่ประทับ ทรงทำปาฏิหาริย์เนรมิตพระวรกายให้ใหญ่กว่าพระอสุรินทราหูหลายเท่า ซึ่งปรากฏเห็นได้เฉพาะอสุรินทราหูเท่านั้น
เมื่ออสุรินทราหูเข้าไปเฝ้าก็อัศจรรย์ใจ แทนที่ตนจะต้องก้มหน้ามองดูพระพุทธองค์ แต่กลายเป็นว่าต้องแหงนหน้ามองดูพระพุทธลักษณะ จนเป็นที่พอใจจากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้พาเอาอสุรินทราหูไปปรากฎยังพรหมโลก ซึ่งก็มีพระพรหมจำนวนมาก พากันมาเข้าเฝ้า และล้วนแต่มีอัตตภาพใหญ่โตกว่าอสุรินทราหูหลายร้อยหลายพันเท่า แต่ทั้งหมดก็ยังมีกายเล็กกว่าพระพุทธองค์ทั้งสิ้นส่วนอสุรินทราหูนั้นต้อง คอยหลบอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระพุทธองค์ตลอดเวลา เพราะความหวาดกลัว
ในที่สุดอสุรินทราหูก็หมดมานะทิฏฐิอันแข็งกระด้าง กลับมีใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและพระพุทธองค์ได้พากลับมายังมนุษย์โลก
ด้วยเหตุนี้ ต่อมาจึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหูหรือปางไสยาสน์ขึ้น และกลายมาเป็นพระบูชาประจำวันเกิดสำหรับผู้เกิดวังอังคาร
คาถาบูชาพระอังคาร (ควรไหว้พระอังคารควบคู่กับการไหว้พระขันทกุมาร เนื่องจากคือพระองค์เดียวกัน)
ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้ คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป 3 ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันอังคาร ให้ใช้ธูป 8 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์)
หรือใช้ธูป 6 ดอก เนื่องจากพระขันทกุมารมี 6 เศียร
บทสวดบูชาพระอังคาร
อิติปิโส ภะคะวา พระอังคารจะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระประจำวันอังคาร
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต ริตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณู เปตัง ปะริตตันตัม ภะณามะ เห

วิธีบูชาพระพุธ


ผู้บูชาพระพุธ พระพุธเป็นเทพเจ้าแห่งการพูดจา การโน้มน้าว คารมคมคาย พูดจาฟังไพเราะรื่นหู มีแต่ความน่าสนใจ
เป็นเทพแห่งความฉลาดรอบรู้ มีปัญญา มีความน่าเชื่อถือ มีความสง่างามเป็นที่หมายปองของผู้อื่น
ผู้บูชาพระพุธก็จะได้รับพรต่างๆ ดังบุคลิกภาพที่กล่าวมา ได้รับปัญญาที่ล้ำเลิศ เกิดโอกาสในการแสวงหาความรู้
ได้พรด้านการติดต่อประสานงาน การเจรจา การต่อรอง การโน้มน้าวจิตใจคน

พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธคือ ปางอุ้มบาตร


ประวัติย่อพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร
ภายหลังจากส่งพระอรหัตนสาวกทั้ง 60 องค์ออกไปประกาศเผยแผ่พระศาสนาแล้วพระพุทธองค์ได้เด็จไปยังเมืองราชคฤห์ เพื่อปลดเปลื้องปฏิญญาที่ทรงให้ไว้กับพระเจ้าพิมพิสารตั้งแต่สมัยที่ยังแสวง หาโมกขธรรม เมื่อแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิมพิสารพร้อมข้าราชบริพารให้เกิดความเลื่อมใส ได้แล้ว ก็ได้เสด็จไปประทับที่พระเวฬุวันซึ่งพระเจ้าพิมพิสารสร้างอุทิศถวายให้เป็น วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบว่าพระโอรสได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว และตอนนี้กำลังประกาศพระศาสนาอยู่ ณ เมืองราชคฤห์ จึงทรงส่งทูตพร้อมบริวารไปทูลนิมนต์ให้พระพุทธองค์เสด็จมายังเมืองกบิลพัส ดุ์ แต่คณะทูตที่ทรงส่งไปถึง 9 ครั้ง ต่างเงียบหายไปหมดในที่สุด ครั้งที่ 10 จึงทรงส่งกาฬุทายีอำมาตย์พร้อมบริวารไปทูลนิมนต์จึงสำเร็จตามประสงค์
ในการเสด็จโปรดพระประยูรญาติครั้งนั้น พระพุทธองค์ได้สรัสมหาเวสสันดรชาดกในท่ามกลางสมาคมพระญาติ เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาจบแล้ว บรรดาพระญาติทั้งหลาย มีพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดาเป็นประธาน ต่างเกิดปิติยินดี แล้วกราบทูลลากลับมายังพระราชนิเวสน์ของตนๆ โดยไม่มีใครทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์เสวยพระกระยาหารของเช้าวัน รุ่งขึ้นเลยเนื่องจากดำริว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองของพระองค์เองแล้ว ถึงเวลาก็คงเสด็จเข้าไปเสวยในพระราชวังเอง
ในวันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์จึงพาหมู่ภิกษุเข้าไปบิณฑบาตในเมืองกบิลพัสดุ์จนทำให้เกิดแตก ตื่นกันขึ้นทั่วทั้งพระนคร เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าว จึงเสด็จออกไปประทับยืน ณ เบื้องพระพักตร์พระศาสดาและตรัสพ้อว่าเหตุไฉนพระศาสดาจึงทำให้พระองค์ได้รับ ความอับอายเยี่ยงนี้ เพราะวงศ์ของพระองค์เป็นกษตริย์ ไม่เคยมีกษัตริย์พระองค์ใดที่จะต้องเสด็จเที่ยวภิกขาจาร (เพื่อขออาหารคนื่นยังชีพ) เช่นนี้เลย
พระพุทธองค์จึงตรัสชี้แจงว่า พระองค์กำลังทำตามพุทธวงศ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายปวงอันมีพระพุทธทีปังกร เป็นต้น ล้วนสำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการภิกขาจารทั้งนั้น แล้วตรัสพระคาถาว่าบุคคคลไม่ควรประมาท ในบิณฑบาตที่ตนจะพึงลุกรับ
ควรประพฤติธรรมให้สุจริต บุคคลผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ในเวลาจบพระคาถา พระเจ้าสุทโธทนะก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันในท่ามกลางถนนนั่นเอง และได้ทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์พร้อมหมู่ภิกษุเสด็จเข้าไปเสวยภัตตาหารในพระ ราชนิเวสน์
ด้วยพระพุทธจริยาวัตรดังกล่าวจึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นมา เพื่อเป็นอนุสติรำลึกถึงการเสด็จออกโปรดเวไนยสัตว์ในตอนเช้าของพระพุทธองค์ และกลายเป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิด สำหรับผู้เกิดวันพุธ (กลางวัน)
คาถาบูชาพระพุธ
ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้ คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป 3 หรือ 4 ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันพุธ ให้ใช้ธูป 17 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์)
บทสวดบูชาพระพุธ
อิติปิโส ภะคะวา พระพุธจะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร พระประจำวันพุธ
สัพพาสี วิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ
ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง
สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัม ภะณามะ เห

วิธีบูชาพระพฤหัสบดี 


ผู้บูชาพระพฤหัสบดี จะได้รับพรด้านความมีปัญญา ฉลาดหลักแหลม การศึกษาเล่าเรียนจะเป็นไปอย่างราบรื่น
พระพฤหัสบดีจะประทานความมีเกียรติในสังคม การได้รับความไว้วางใจเคารพนับถือจากผู้อื่น

พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีคือ ปางสมาธิ


ประวัติย่อพระพุทธรูปปางสมาธิ
ในเช้าของคืนวันที่จะตรัสรู้นั้น พระโพธิสัตว์สิตธัตถะ หลังเสวยข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดานำมาถวายแล้ว ก็ได้ทรงอธิษฐานเสี่ยงทายถาดทองคำที่แม่น้ำเนรัญชรา แล้วประทับยับยั้งอยู่ที่นั้นจนตะวันบ่ายคล้อยเสด็จกลับมายังต้นพระศรีมหา โพธิ์ ในระหว่างทาง ได้ทรงรับหญ้าคา 6 กำมือ จากโสตถิยะพราหมณ์ จึงนำมาปูลาด ณ ใต่ต้นไม่ พระศรีมหาโพธิ์แทนบัลลังก์ แล้วขึ้นประทับนั่งผันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ผันพระปฤษฏางค์ ให้ลำต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วจึงทรงอธิษฐานพระทัยว่า จักไม่ลุกจากบัลลังก์นี้ ตามใดที่ยังไม่ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ แม้ว่าเนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปจนเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูกก็ตามทีหลังจาก อธิษฐานจิตพระองค์ก็ได้เผชิญกับการทำสงครามกับพญามาราธิราชพร้อมเสนาหมู่ ใหญ่ แต่พระองค์ก็สามารถเอาชนะได้ด้วยพระบารมีต่างๆก่อนที่พระอาทิตย์จะอัสดงคต เล็กน้อย จากนั้นก็ได้เจริญภาวนาจนได้บรรลุพระญาณต่างๆ ไปตามลำดับ คือ
1.ในปฐมยาม ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติในอดีตได้เป็นเหตุให้ทรงยั่งรู้อัตตภาพขันธสังขารต่างที่ ประกอบกันขึ้นและดับไปนับครั้งไม่ถ้วน ทำให้ทรงกำจัดความหลงในขันธ์อันเป็นเหตุรักหรือขังเสียได้โดยสิ้นเชิง
2.ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ หรือ ทิพพจักษุ สามารหยั่งรู้การเกิดการตายตลอดถึงสาเหตุที่ทำให้สรรพสัตว์ต้องเวียนว่ายตาย เกิดในรูปแบบต่างๆ กันออกไปก็ด้วยอำนาจกรรมที่แตกต่างกัน เป็นผลให้ทรงกำจัดความหลง ในคติแห่งขันธ์อันเป็นเหตุสำคัญผิดด้วยประการต่างๆ ได้
3.ในปัจฉิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ สามารถกำจัดอาสวักกิเลสน้อยใหญ่ทั้งมวลได้สิ้นเชิงด้วยพระปัญญารู้แจ้งความ จริงอันประเสริฐและเข้าใจชัดแจ้งถึงสายโซ่แห่งชีวิตที่เกิดดับ โดยความอาศัยกันและกัน แห่งเหตุปัจจัย หรือปฏิจจสมุทปบาทธรรมทำให้ทรงได้ชีวิตใหม่ บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ กลายเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระญาณอันหมดจดวิเศษเหนื่อยกว่ามนุษย์ และทวยเทพทั้งมวล
ภายหลังจากตรัสรู้ พระองค์ก็ได้ประทับนั่งเสวยวิมุติสุขและพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรมตลอด 7 วัน ณ ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ โดยมิได้เสด็จลุกไปไหนด้วยเหตุอัศจรรย์ดังกล่าว ภายหลังจึงมีการสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิขึ้นไว้เป็นอนุสติและกลายมาเป็นปาง พระพุทธรูปบูชา สำหรับ ผู้ที่เกิดในวันพฤหัสบดี
คาถาบูชาพระพฤหัสบดี
ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้ คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป 3 หรือ 5 ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันพฤหัสบดี ให้ใช้ธูป 19 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์)
บทสวดบูชาพระพฤหัสบดี
อิติปิโส ภะคะวา พระพฤหัสบดีจะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางสมาธิ พระประจำวันพฤหัสบดี
ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง
เยนะ สังวิหิตารักขัง มหาสัตตัง วะเนจะรา
จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง
พรัหมะมันตันติ อักขาตังปะริตตันตัม ภะณามะ เหฯ

วิธีบูชาพระศุกร์ 


ผู้บูชาพระศุกร์ จะได้รับพรด้านความโดดเด่นในตัวบุคคลและผลงาน ได้รับการเชิดชูเกียรติจากผู้คน
ตำแหน่งหน้าที่การงานจะได้เปรียบมากกว่าผู้อื่น ได้รับการมอบหมายให้ทำงานที่สำคัญต่อองค์กรหรือประเทศชาติ

พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์คือ ปางรำพึง


ประวัติย่อพระพุทธรูปปางรำพึง
ในสัปดาห์ที่ 7 ภายหลังการตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ที่ต้นเกตุ ุชื่อราชายตนะ ตลอด 7 วัน แล้วเสด็จกลับมาที่ต้นอชปาลนิโครธซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหา โพธิ์ จากนั้นทรงรำพึงถึงธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ว่า เป็นธรรมที่ละเอียด ประณีต สุขุม คัมภีรภาพยากที่จะมีใครๆ ตรัสรู้ตามได้ ทำให้น้อมพระทัยไปในการจะไม่ทรง แสดงธรรมแก่สรรพสัตว์ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบวารจิตเช่นนั้นของพระพุทธเช้า เลยกล่าวกับทวยเทพว่า คราวนี้โลกคงต้องฉิบหายแน่ จึงเข้าเฝ้าพระพุทธองค์และทูลอาราธนาให้พระองค์แสดงธรรรมโปรดเวไนยสัตว์ด้วย เพื่อบุคคลที่มีกิเลสธุลีในจิตใจน้อยจะได้รู้ธรรมที่พระองค์ได้สรัสรู้บ้าง พระศาสดาเองทรงอาศัยพระทัยอันประกอบด้วยพระมหากรุณา จึงทรงรำพึงถึงธรรมเนียม ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตทรงกระทำภายหลังจากการตรัสรู้ ย่อมทรงแสดธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ประดิษฐานพระศาสนาให้ตั้งมั่นแล้วจึงเสด็จดับขันธปรินิพพานจึงน้อมพระทัยไป เพื่อการแสดงธรรมสรรพสัตว์จากนั้นทรงพิจารณาอุปนิสัยของสรรพสัตว์ ก็ทรงทราบว่าแตกต่างกันออกไป บางเหล่าก็มีอุปนิสัยประณีต บางเหล่าก็ปานกลาง บางเหล่าก็หยาบ ที่มีอุปนิสัยดี มีกิเลสเบาบาง มีบารมีที่สั่งสมอบรมมาแล้วซึ่งพอที่จะตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ได้ก็มี ผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มีผู้มีอินทรีย์ยังอ่อนก็มี ผู้ที่จะพึงแนะนำสั่งสอนได้โดยง่ายก็มี ผู้ที่จะแนะนำได้โดยยากก็มี ผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี เปรียบเหมือนประทุมชาติบางเหล่าที่โผล่พ้นเหนือน้ำพร้อมจะผลิบาน เมื่อได้รับสุรีย์แสงก็มี บางเหล่าก็ยังอยู่เสมอน้ำก็มี บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ำก็มีเมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ หยั่งทราบเวไนยสัตว์ผู้จะได้รับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาแล้วก็ทรงอธิษฐาน พระทัยในอันจะแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์และตั้งพุทธปณิธานที่จะดำรงพระชนม์ อยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลายและตั้งมั้นเสียก่อนท้าวสหัมบดี พรหมได้ทรงถึงพุทธปณิธานและเห็นว่าทรงรับอาราธนาในการเผยแผ่พระธรรมเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่สพรรพสัตว์แล้ว จึงกลับไปยังพรหมโลกด้วยพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะทรงแสดงโปรดชนนิกร ผู้เป็นเวไนยบุคคลดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้มีการสร้างพระพุทธรูปปางรำพึงขึ้น และใช้เป็นปางพระพุทธรูป บูชา สำหรับผู้ที่เกิดวันศุกร์
คาถาบูชาพระศุกร์
ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้ คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป 3 หรือ 6 ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันศุกร์ ให้ใช้ธูป 21 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์)
บทสวดบูชาพระศุกร์
อิติปิโส ภะคะวา พระศุกร์จะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางรำพึง พระประจำวันศุกร์
อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมเต
อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทากิพพิ สะการิภิ
ปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะ จะ คุตติยา
ยันเทเสสิ มะหาวิโร ปะริตตันตัม ภะณามะ เหฯ

วิธีบูชาพระเสาร์ 


ผู้บูชาพระเสาร์ จะได้รับพละกำลังอันแข็งแกร่ง ห้าวหาญ ไม่ย่อท้อต่อคำติฉินนินทา มีความทระนง หยิ่งในศักดิ์ศรี
จะได้รับพรด้านความเชื่อมั่นในตัวเอง สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดี
พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์คือ ปางนาคปรก

ประวัติย่อพระพุทธรูปปางนาคปรก
ในสัปดาห์ที่ 6 หลังการตรัสรู้พระพุทธองค์ได้เสด็จไปนั่งขัดสมาธิเสวยวิมุตติสุขภายใต้ร่ม ไม้จิกชื่อมุจจลินท์ อันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์และ ณ ที่แห่งนี้ได้มีฝนตกพรำๆ และสายลมพัดผ่านตลอด 7 วัน พญานาคราชมุจจลินท์จึงได้ออกมาจากนาคพิภพทำขนดล้อมพระวรกายพระพุทธองค์ ถึง 7 ชั้นแล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเหนือพระเศรียรด้วยพระประสงค์จะป้องกันมิให้สาย ฝนและสายลมพัดเข้ามาถูกต้องพระศาสดาได้เมื่อฝนหายขาด พญานาคราชมุจจลินท์ จึงได้จำแลงเพศเป็นมาณพหนุ่มเข้ามายืนถวาย บังคมพระบรมศาสดา ณ เฉพาะพระพักตร์ พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า
“ความสงัดเป็นความสุขสำหรับบุคคลผู้ได้สดับธรรม ยินดีในเสนาสนะ
อันสงัด เห็นสังขารทั้งปวงตามความเป็นจริง ความเป็นผู้ไม่เบียดเบียน
คือ ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด
คือ ความก้าวล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นความสุขในโลกความนำออก
เสียได้ซึ่งอัสมิมานะ (คือความถือตัว) เป็นความสุขอย่างยิ่ง”
ด้วยเหตุนี้ ในสมัยต่อมาจึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก และใช้เป็นพระพุทธรูปบูชา สำหรับผู้เกิดวันเสาร์
คาถาบูชาพระเสาร์
ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้ คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป 3 หรือ 7 ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันเสาร์ ให้ใช้ธูป 10 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์)
บทสวดบูชาพระเสาร์
อิติปิโส ภะคะวา พระเสาร์จะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางนาคปรก พระประจำวันเสาร์
ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต
นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง
ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ
โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะฯ

วิธีบูชาพระราหู  


ผู้บูชาพระราหู (พุธกลางคืน) จะได้รับพร ด้านลาภยศ ความไม่หวั่นไหว ไม่ล้ม ไม่เจ็บ ยืนหยัดต่อสู้ได้
ปัญหาต่างๆแม้ใหญ่เพียงใดก็จะได้รับการขจัดปัดเป่าด้วยฤทธิ์แห่งพระราหูี

พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธกลางคืน คือ ปางป่าเลไลย์


ประวัติย่อพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์
ในสมัยหนึ่งพระวินัยธรและพระธรรมกถึกชาวเมืองโกสัมพี ได้ก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้นในโฆสิตารามด้วยเรื่องการยกโทษกันเกี่ยวกับ วินัย จนหมู่ภิกษุตลอดถึงอุบาสก อุบาสิกาเกิดแตกแยกกันขึ้นเป็น 2 ฝ่ายแม้พระพุทธองค์จะทรงเข้าไปไกล่เกลี่ยให้สงฆ์ปรองดองกันเสียแต่ก็ไม่มี ใครเชื่อฟังพระโอวาทนั้น ทำให้พระองค์ทรงเหนื่อยหน่ายความถือรั้นด้วยทิฏฐิมานะของภิกษุเหล่านั้นจึง เสด็จไปยังราวป่าอันเป็นที่อยู่ของช้างชื่อปาริเลยยกะ เพียงพระองค์เดี่ยวโดยไม่อำลาใครๆและได้ประทับอยู่ที่ราวป่านั้นเพียงลำพัง โดยมีช้างปาริเลยยกะคอยปรนนิบัติทำกิจวัตรต่างๆ แต่พระศาสดา ทำให้ชัฏป่าแห่งนั้นได้ชื่อว่า รักชิตวัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมา ลิงตัวหนึ่งเห็นช้างทำกิจวัตรต่างๆปรนบัติพระศาสดาเช่นนั้นจึงเกิดความ เลื่อมใสคิดอยากบำรุงพระศาสดาบ้าง ภายหลังวันหนึ่งได้พบรวงผึ้งบนกิ่งไม้จึงหักกิ่งนั้นนำมาถวายพระศาสดาแต่ เห็นพระองค์รับแล้วกลับนิ่งเฉยเสีย จึงใคร่ครวญดูก็ได้เห็นว่ามีตัวอ่อนไต่อยู่บนรัง เลยเขี่ยตัวอ่อนนั้นทิ้งแล้วถวายเสียใหม่ คราวนี้พระพุทธองค์ทรงรับแล้วก็เสวย ทำให้ลิงตัวนั้นปิติยินดียิ่งนัก วิ่งกระโดดไปมาบนกิ่งไม้แต่บังเอิญกิ่งที่ลิงเหยียบและยึดเอาไว้นั้นหักลงมา ตรงตอไม้ปลายแหลมพอดี ทำให้ลิงตัวหนั้นถูกปลายตอเสียบทะลุร่างสิ้นใจตายแล้ว ได้บังเกิดเป็นเทพบุตรบนดาวดึงส์
ช้างปาริเลยยกะได้ปรนนิบัติรับใช้พระพุทธองค์ตลอดไตรมาส โดยมิได้ขาดตกบกพร่องฝ่ายภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ภายหลังจากวันที่พะพุทธเจ้าเสด็จหลีกไปนั้น ได้มีพวกอุบาสกอุบาสิกามาเข้าเฝ้าพระศาสดาที่โฆสิตาราม แต่ไม่พบจึงสอบถามจนทราบเรื่องราวและสาเหตุที่พระพุทธองค์เสด็จหนีไป ทำให้ชนทั้งหลายต่างไม่พอใจภิกษุเหล่านั้น จึงพร้อมใจกันงดทำสามีจิกรรม งดถวายอาหาร ทำให้พวกเธอต้องอยู่จำพรรษาในโฆสิตารามด้วยความยากลำบาก จึงหันมาสามัคคีปองดองกันเหมือนเดิม แต่ชาวบ้านก็ยังไม่ยกโทษให้จนกว่าพวกเธอจะทูลขอขมาให้พระพุทธองค์อดโทษเสีย ก่อน
หลังออกพรรษา ตระกูลเศรษฐีคหบดี ในเมืองสาวัตถี มีอนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นต้น ได้ส่งข่าวไปขอร้องให้พระอานนท์พุทธอุปัฏฐากไปกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้ เสด็จไปพระนครสาวัตถีด้วย
พระอานนท์จึงพาภิกษุต่างถิ่น จำนวน 500 รูปที่เดินทางมาเพื่อประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เช่นกัน ไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ราวป่ารักชิตวัน แล้วกราบทูลแจ้งตามความประสคงค์ของเศรษฐีคหบดีชาวพระนครสาวัตถึให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรมโปรดพระภิกษุที่มาเข้าเฝ้าจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด จากนั้นก็ได้เสด็จไปยังพระนครสาวัตถี
ฝ่ายช้างปาริเลยยกะ ไม่อาจตัดความรักที่มีต่อพระศาสดาได้ เมื่อพระองค์ทรงพาหมู่ภิกษุหลีกไปก็ขาดใจตายไปบังเกิดเป็นเทพบุตรบนดาวดึงส์ ส่วนภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทราบข่าวว่าพระศาสดาเสด็จไปประทับอยู่ ณ เชตวัน เมืองสาวัตถีแล้วจึงพากันไปเข้าเฝ้าและกราบทูลขอขมาต่อพระพุทธองค์
ด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่จำพรรษาตามลำพังที่ราวป่ารักขิตวัน โดยมีช้างปาริเลยยกะคอยอุปัฏฐากปรนนิบัติบำรุงดังกล่าว ต่อมาจึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ขึ้น และใช้เป็นปางพระพุทธรูปบูชา สำหรับผู้เกิดวันพุทธกลางคืน
คาถาบูชาพระราหู
ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้ คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูปธรรมดา 3 หรือ 8 ดอก
หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันพุธ ให้ใช้ธูป 12 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์)
บทสวดบูชาพระราหู
บทสวดบูชาพระราหู แบบที่ 1
อิติปิโส ภะคะวา พระราหูจะมัสมิง
จะ พุทธะคุณัง จะ ธัมมะคุณัง จะ สังฆะคุณัง
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคัง วิวัชชะเย
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
————————————————————-
บทสวดบูชาพระราหู แบบที่ 2
โอม เอกะจักขุ นาริเกลา สุริยะจันทระ ประภา
ราหูคาหาสัตตะระตะนะ สัมปันโนมณีโชติ
ระโส ยะถา สุวัณณะ รัชชะตะ สะมิทธา อะหังวันทามิ เมสะทาฯ
————————————————————-
บทสวดบูชาพระราหู แบบที่ 3
กุสเสโตมะมะ กุสเสโตโต ลาลามะมะ
โตลาโม โทลาโมมะมะ โทลาโมมะมะ
โทลาโมตัง เหกุติมะมะ เหกุติ
ยัตถะตังมะมะ ตังถะยะ ตะวะตัง
มะมะตัง วะติตัง เสกามะมะ
กาเสกัง กาติยังมะมะ ยะติกา
บทสวดบูชาพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ พระประจำวันพุธกลางคืน
กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติ
กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ จันทิมันติ
ขอบคุณที่มา