อานิสงส์ของการทอดกฐิน

พิธีทอดกฐิน เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง คำว่า”กฐิน”เป็นชื่อของสังฆกรรมชนิดหนึ่งในพระพุทธศาสนา ที่ใช้พระสงฆ์เป็นพยานในการทำ 5 รูปเป็นอยางน้อย คือ 4 รูปเป็นองค์สงฆ์หรือพยาน และอีก 1 รูปเป็นองค์ครองผ้ากฐิน นอกจากนี้คำว่า”กฐิน” เป็นชื่อของไม้ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ขึงในเวลาเย็บจีวร ภาษาไทย เรียกว่า”ไม้สะดึง”ภาษาบาลีใช้คำว่า”กฐิน”ขณะเดียวกันภาษาไทย ได้ยืมภาษาบาลีมาเป็นภาษาของตัวเองโดยเรียกทับศัพท์ไปเลยว่าผ้ากฐินหรือบุญกระฐิน

บุญกฐิน กำหนดทำกันในระหว่างวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 สำหรับจุดประสงค์หลักของการทำบุญกฐินนั้น เพื่อที่จะให้พระภิกษุสงคฆ์ที่จำพรรษาแล้วไดัมีผ้าผลัดเปลี่ยนใหม่ โดยได้มีมูลเหตุของบุญกฐินปรากฏในกฐินขันธะแห่งพระวินัยปิฎก และฏีกาสมันตปาสาทิกา ไว้ว่า

สมัยหนึ่ง ได้มีพระภิกษุชาวเมืองปาฐาจำนวน -30 รูป พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ พระเซตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
ขณะนั้นวันจำพรรษาได้ใกล้เข้ามา พวกภิกษุเหล่านั้นจึงได้พากันจำพรรษาที่เมืองพระเซตะวันมหาวิหารตลอดระยะเวลา3 เดือนที่จำพรรษาภิกษุเหล่านั้น มีความตั้งใจอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องไปเฝ้าพระพุทธเจ้าให้ได้ ครั้นพอออกพรรษาแล้ว จึงพากันออกเดินทางกรำฝนทนแดดร้อนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะฤดูฝนยังไม่ทันจะล่วงสนิท ทำให้ภิกษุชาวเมืองปาฐาเหล่านั้น มีจีวรเปียกชุ่ม และเปื้อนด้วยโคลนตม พอไปถึงเขตวันมหาวิหารได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงเห็นใจในความยากลำบากของภิกษุเหล่านั้นจึงอนุญาตให้หาผ้ากฐินหรือผ้าที่เย็บด้วยไม้สะดึง มาใช้เปลี่ยนแทนผ้าเก่า ฝ่ายนางวิสาขา มหาอุบาสิกา เมื่อได้ทราบถึงพุทธประสงค์แล้ว นางก็ได้นำผ้ากฐินไปถวายแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประทาน และนางได้เป็นคนแรกที่ได้ถวายผ้ากฐินในพระพุทธศาสนา

อานิสงส์การร่วมทำบุญกฐิน
การทำบุญทอดกฐินนับได้ว่าเป็นการทำบุญที่มีอานิสงส์มากทั้งผู้ถวายคือญาติโยมพุทธบริษัท และพระสงฆ์ที่รับกฐิน
พระจะได้รับอานิสงส์ 5 ประการคือ
1. เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาพระภิกษุด้วยกัน
2. เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้
3. ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้
4. เก็บจีวรไว้ได้ตามปราถนา
5. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น

สำหรับผู้ทอดกฐิน หรือญาติโยมก็จะได้รับอานิสงส์ 5 ประการเช่นกัน
1. ทำให้มีอายุยืนยาว
2. ทำให้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์
3. จะไม่ถูกวางยาพิษให้เป็นอันตรายถึงชีวิต
4. ทรัพย์สมบัติจะไม่เป็นอันตรายด้วยโจรภัยหรืออัคคีภัย
5. จะได้เป็นเอหิภิกขุในอนาคต

มีเรื่องเล่าว่า ในครั้งศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีชายยาจกคนหนึ่งอาศัยท่านศิริธรรมเศรษฐี เลี้ยงชีพโดยการเฝ้าไร่หญ้า จึงมีชื่อว่าติณบาล ได้อาหารเป็นค่าจ้างวันละหม้อ เขาคิดว่าเรายากจนต้องมาทนรับใช้คนอื่นเช่นนี้ ก็เพราะไม่ได้ทำทานไว้ เขาจึงแบ่งอาหารเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งถวายแด่ภิกษุที่มาบิณฑบาต ส่วนหนึ่งตนบริโภค ทำอยู่เป็นเวลานาน ท่านเศรษฐีสงสารจึงเพิ่มอาหารให้อีก 1 ส่วน เขาเอาส่วนที่ได้เพิ่มมาให้แก่พวกยากจนเอาไปกิน

ต่อมาเป็นวันออกพรรษา ท่านเศรษฐีจะทอดกฐินจึงประกาศให้คนในบ้านได้มีส่วนร่วมกุศลด้วย นายติณบาลได้ฟังมาว่า การทอดกฐินได้บุญมากอยากจะร่วมกุศลด้วย แต่หาของร่วมไม่ได้ จนใกล้วันทอด จึงตัดสินใจเอาผ้านุ่งของตนออกมาพับแล้วกลัดใบไม้นุ่งแทน เที่ยวเดินขายตามตลาด ประชาชนเห็นเข้าก็พากันเยาะเย้ยต่างๆนานา เขาตอบว่า พวกท่านอย่าเยาะเย้ยเราเลยเรายากจน เราจะนุ่งใบไม้เฉพาะชาตินี้เท่านั้น ชาติต่อๆไปเราจะนุ่งห่มผ้าทิพย์ ในที่สุดเขาก็ขายได้ราคา 5 มาสก 1 บาท จึงเอาเงินไปให้เศรษฐี ท่านเศรษฐีเอาเงินนั้นซื้อด้ายสำหรับเย็บจีวร

กิตติศัพท์ เกียรติคุณที่เขาทำบุญได้ลือกระฉ่อนจนทราบถึงพระเจ้าแผ่นดิน จึงมีรับสั่งให้เข้าเฝ้า เขาบอกว่าไม่มีผ้านุ่ง พระราชาจึงสั่งพระราชทานผ้านุ่งราคาหนึ่งแสนไปให้เขาแล้วพระราชทานบ้าน ทรัพย์ ช้าง ม้า วัว ควาย ทาส ทาสีแก่เขาเป็นจำนวนมาก เขานึกถึงบุญคุณของบุญกุศลจึงได้ทำบุญเป็นการใหญ่ และพยายามสร้างฐานะจนได้เป็นเศรษฐี ในกาลต่อมา

เมื่อเขาตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีความสุขอันเป็นทิพย์ทุกอย่าง มีนางเทพอัปสรเป็นบริวารหนึ่งหมื่นคน แม้ท่านเศรษฐีเมื่อตายแล้ว ก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดเยวกัน มีความสุขอันเป็นทิพย์เช่นกัน

การทอดกฐินเป็นกาลทาน ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วันหนึ่งทำได้ครั้งเดียว ในปีหนึ่งๆต้องทำภายในกำหนดเวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่ ต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน จึงนิยมกันว่าเป็นพิธีบุญที่อานิสงส์แรง น่าคิดอีกทางหนึ่งว่า พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติเพราะเราเองบริจาค ได้ทั้งบริวารสมบัติเพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตรให้มาร่วมการกุศลกาลทานเช่นนี้ เรียกว่า ทานทางพระวินัย

วีอาร์ดีชวนทำดี ร่วมทำบุญในเทศกาลทอดกฐินปี 2560 นำเงินรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการต่าง ๆ
สมทบทุน ร่วมทำบุญในเทศกาลทอดกฐินในปี 2560 ตามวัดต่าง ๆ ดังนี้

  1. กฐินสามัคคีสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ ณ วัดหนองบัว ต.หนองบัว อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย (วันที่ 11-12 ตุลาคม 2560)
  2. กฐินสามัคคี สมทบทุนสร้างอุโบสถ เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับทำสังฆกรรมตามหลักพระธรรมวินัย เช่น การสวดปาติโมกข์ พิธีอุปสมบท ใช้เป็นสถานที่สำหรับทำวัตร ปฏิบัติธรรม และประกอบศาสนพิธีในวันสำคัญทางพุทธศาสนา ณ วัดพญากำพุช หมู่ 2 ต.โป่งน้ำร้อน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทรบุรี (วันที่ 29 ตุลาคม 2560)
  3. กฐินสามัคคี สมทบทุนสร้างพระอุโบสถ ณ วัดโพธิ์ ต.โนนศิลา อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ สมทบทุนสร้างเมรุเผาศพ ณ วัดป่าโนนศิลา ต.โนนศิลา อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ สมทบทุนสร้างกุฏิ ผู้ถือศีล 8 จำนวน 4 ห้อง โรงครัว ห้องสุขา ณ สำนักสงฆ์เขาช่องลม ต.ลำสมพุง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม 2560
  4. กฐินสามัคคี สมทบทุนสร้างกุฏิสงฆ์ วัดคำชะโนด และอุทิศบุญกุศลถวาย ปู่ศรีสุทโธ และพญานาคราชทุกหมู่เหล่าที่วัดศิริสุทโธ (วัดคำชะโนด) ต.บ้านม่วง อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม 2560
  5. กฐินสามัคคี วัดเชิงท่า อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 3 พฤศจิกายน 2560
  6. ร่วมทำบุญกฐินสำหรับวัดที่ไม่มีเจ้าภาพกฐิน

วีอาร์ดีชวนทำดี ร่วมทำบุญในเทศกาลทอดกฐินปี 2559 นำเงินรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการต่าง ๆ
สมทบทุน ร่วมทำบุญในเทศกาลทอดกฐินในปี 2559 ตามวัดต่าง ๆ ดังนี้

  1. กฐินสามัคคี สร้างมณฑปหอพระไตรปิฎกกลางน้ำ ณ วัดพระธาตุแม่เจดีย์ ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2559
  2. กฐินสามัคคี สร้างศาลาวิปัสนาฝั่งตะวันออกเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาส
    มหามงคลทรงครองศิริราชสมบัติครบ 70 ปี ณ วัดถ้ำยายปริก ตำบลท่าเทววงษ์ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี  
    ในวันที่ 23 ตุลาคม 2559
  3. กฐินสามัคคี สร้างอุโบสถ ณ วัดบ้านแพะ (แสนพันล้าน) ต. บ้านป่า อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
  4. กฐินพระราชทาน วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
  5. กฐินสามัคคี สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ วัดโนนสวรรค์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์