พุทธวิธีในการพูดของพระพุทธเจ้า

ในพระพุทธศาสนา ได้มีแนวทาง หลักการพูด และการกล่าวถึงพุทธวิธีในการพูดของพระพุทธเจ้า ในอภัยราชกุมารสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ โดยสรุปเรื่องราวที่เกี่ยวข้องไว้ว่า

นิครนถ์นาฏบุตร ผู้ซึ่งเป็นนักบวชนอกศาสนาพุทธ ได้คิดคำถามขึ้นมา 1 ข้อ เพื่อถามพระพุทธเจ้า โดยคาดหวังว่าคำถามนี้จะทำให้พระพุทธเจ้าตอบไม่ได้ และเมื่อนั้น คนทั้งหลายก็จะเลิกนับถือพระพุทธเจ้า

เมื่อนั้น นิครนถ์นาฎบุตร ได้ไปกราบทูล อภัยราชกุมาร ผู้เป็นศิษย์ ถึงคำถามนี้ และได้ให้ อภัยราชกุมาร นำคำถามนี้ไปถามแก่พระพุทธเจ้า คำถามนี้คือ
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตจะพึงตรัสพระวาจาอันไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่นบ้างหรือหนอ”
นิครนถ์นาฏบุตรได้อธิบาย คำถามนี้ไว้ว่า
ถ้าพระพุทธเจ้า ตอบว่า พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก/ที่ชอบใจของคนอื่น ก็ให้พระกุมารตอบกลับไปว่า
แล้วเช่นนั้นพระองค์จะต่างอะไรจากคนธรรมดา เพราะคนธรรมดาต่างก็กล่าว วาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น
ถ้าพระพุทธเจ้า ตอบว่า ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก/ที่ชอบใจของคนอื่น ก็ให้พระกุมารตอบกลับไปว่า
พระพุทธเจ้าโกหก พระองค์เคยทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า เทวทัตจะไปเกิดในอบาย ไปเกิดในนรกอเวจี
ซึ่งวาจานั้นได้ทำให้พระเทวทัตเสียใจ
เมื่อพระพุทธเจ้าเจอคำถามสองเงื่อนนี้เข้าไปแล้ว ก็จะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก และ
อภัยราชกุมารก็จะเป็นฝ่ายมีชัยเหนือพระพุทธเจ้า และ ชื่อเสียงของพระองค์จะระบือไปไกล
อภัยราชกุมารทูลถามคำถามกับพระพุทธเจ้า
อภัยกุราชมารได้เดินทางไปหาพระพุทธเจ้า และ ทูลถามคำถามนั้นกับพระองค์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบว่า
“ดูกรราชกุมาร ในปัญหาข้อนี้ จะวิสัชนาโดยส่วนเดียวมิได้”
เมื่อได้ยินคำตอบเพียงเท่านี้ อภัยราชกุมารก็อุทานขึ้นว่า “คำถามของพวกนิครนถ์ได้ฉิบหายแล้ว”
พระพุทธเจ้าท่านได้ถามกลับว่า “เหตุใดพระกุมารถึงอุทานเช่นนั้น” ซึ่งพระกุมารก็ได้อธิบายที่มาของคำถามนี้ทั้่งหมดแก่พระพุทธเจ้า ว่า นิครนถ์นาฏบุตรได้สอนคำถามนี้ พร้อมทั้งจุดมุ่งหมายของคำถามนี้
วาจาที่ประกอบด้วยประโยชน์
ขณะนั้น อภัยราชกุมารได้อุ้มเด็กอ่อนนอนไว้บนไว้ตัก พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับอภัยกุมารไว้ว่า
พระพุทธเจ้า: ถ้ากุมารน้อยนี้เผลอเอาไม้เอากรวดมาใส่ในปาก พระองค์จะทำอย่างไร
อภัยราชกุมาร: กระหม่อมจะนำออกเสีย ถ้านำไม่ออกก็จะใช้กำลังเอามือควักออกมา
แม้ว่าจะต้องทำให้กุมารนี้ต้องเลือดออกก็ตาม ทั้งหมดนี้ก็เพราะหม่อมฉันรักและเอ็นดูพระกุมาร
พระพุทธเจ้า: ตถาคตก็เช่นกัน

  • วาจาที่ไม่จริง/ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ วาจานั้นไม่เป็นที่รัก/ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
    – ตถาคตม่กล่าววาจานั้น
  • วาจาที่จริง/ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ วาจานั้นไม่เป็นที่รัก/ไม่เป็นที่ ชอบใจของผู้อื่น
    – ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
  • วาจาที่จริง/ที่แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ วาจานั้นไม่เป็นที่รัก/ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
    – ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น
  • วาจาที่ไม่จริง/ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้น เป็นที่รัก/เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
    – ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
  • วาจาที่จริง/ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก/เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
    – ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
  • วาจาที่จริง/ที่แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ วาจานั้นเป็นที่รัก/เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
    – ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย.
การพูด
พุทธปฏิภาณ
ถัดมา พระอภัยกุมาร ได้ถามพระพุทธเจ้าต่อว่า
อภัยกุมาร: เวลามีคนถามคำถาม พระพุทธเจ้าท่าน ต้องนึกคำตอบหรือว่าคำตอบนั้นปรากฏออกมาเองได้โดยทันที”
พระพุทธเจ้าท่านก็ถามกลับไปว่า: “พระกุมาร ท่านเชี่ยวชาญในรถยนต์ เวลามีคนถามว่า ชิ้นส่วนต่างๆของรถยนต์เรียกว่าอะไร พระกุมารต้องนึกก่อน หรือ ตอบได้ทันที”
พระกุมาร: “ข้าพระองค์เป็นทหารรถ สามารถตอบได้ทันทีได้ไดยไม่ต้องตรึก พระเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้า: “ฉันนั้นก็เหมือนกัน คำถามที่มีคนถาม เราตถาคต ย่อมรู้แจ้งขึ้นมาได้ทันที เพราะ ธรรมทั้งหลายเราได้แทงตลอดแล้ว”
อภัยราชกุมารแสดงตนเป็นอุบาสก
จากนั้น พระอภัยราชกุมาร ได้กล่าวว่า คำเทศนาของพระพุทธเจ้า ช่างแจ่มแจ้งนัก ดุจดั่ง พลิกของควำ่ให้หงาย
เปิดของที่ปิด ชี้ทางแก่คนหลงทาง และ ดั่งประทีปในยามมืด
ว่าแล้วอภัยราชกุมารก็ประกาศตนเป็นอุบาสก มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
**************************
สิ่งที่พระองค์ทรงแสดงในพระสูตรนี้ คือ
๑. ปัญหาบางเรื่องตอบแง่เดียวไม่ได้ ต้องตอบแบบวิเคราะห์ที่เรียกว่า “วิสัชชพยากรณ์”
พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักการตอบปัญหาไว้ ๔ วิธี คือ
๑.๑ เอกังสพยากรณ์ ตอบได้แง่เดียว
๑.๒ วิสัชชพยากรณ์ ตอบแบบแยกแยะ
๑.๓ ปฏิปุจฉาพยากรณ์ ตอบโดยย้อนถาม
๑.๔ ฐปนียพยากรณ์ ตอบโดยการนิ่ง
๒. สิ่งที่ไม่จริง ไม่มีประโยชน์สถานเดียว
๓. สิ่งที่จริงมี ๒ สถาน คือ
๓.๑ บางอย่างมีประโยชน์
๓.๒ บางอย่างไม่มีประโยชน์
แสดงว่า ความจริง กับ ความมีประโยชน์ เป็นคนละเรื่องกัน
๓. ความชอบใจของคนไม่ได้ขึ้นอยู่กับความจริงหรือความมีประโยชน์ความไม่ชอบใจของคนก็ไม่ขึ้นอยู่กับความไม่จริงหรือความไม่มีประโยชน์ ฉะนั้น จึงไม่อาจเอาความชอบใจหรือความไม่ชอบใจมาเป็นเกณฑ์ตัดสินความจริง-ความไม่จริง ความมีประโยชน์-ความไม่มีประโยชน์
๔. พระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนความจริงทุกอย่างที่ทรงรู้หรือที่มีอยู่ แต่ทรงเลือกสอนเฉพาะความจริงที่มีประโยชน์ ตามควรแก่กาลเทศะเท่านั้น
๕. การสอนของพระพุทธเจ้า มิได้ทรงถือเอาความชอบใจของคนเป็นหลัก แต่ทรงถือเอา

  • ความจริง
  • ความมีประโยชน์
  • กาลเทศะ (คือ พูดสิ่งที่เป็นความจริงที่มีประโยชน์และถูกกาลเทศะจึงจะเกิดประโยชน์)

๓ สิ่งนี้ทรงใช้เป็นหลักในการสอน ทั้งสอนพระและสอนประชาชนทั่วไป
หมายเหตุ ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต